วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ไปม็อบต้องมีพร็อพ สีสันการเมืองไทย 4 ยุค


การชุมนุมเป็นเรื่องปกติของสังคมประชาธิปไตยที่มีการออกมาเรียกร้องคัดค้านในสิ่งที่ประชาชนไม่เห็นด้วย ในประเทศไทยการชุมนุมทางการเมืองมีขึ้นเป็นประจำทั้งม็อบเล็ก ม็อบใหญ่ ม็อบคนจน ไปจนถึงม็อบไฮโซ ซึ่งต่างออกมาเรียกร้องเพื่อปกป้องสิ่งที่ตนเองเรียกว่าสิทธิ-ประชาธิปไตยกันทั้งนั้น

ซึ่งหากลองย้อนมองกลับไปม็อบใหญ่ในสังคมไทยระยะหลังจะมีสิ่งหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ นั่นคือเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไป ถ้าเป็นช่วง 14 ตุลา 2516 สื่อที่ได้รับความนิยมที่ใช้ในการปลุกระดมมวลชนคงจะหนีไม่พ้นใบปลิว-หนังสือพิมพ์-วารสาร แต่ถ้าเข้ามาสู่ยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารบูมมากขึ้นม็อบก็เริ่มมีการแปรผันวิธีการปลุกระดมให้มีความทันสมัยตาม ยกตัวอย่างเช่น

ม็อบมือถือ ในช่วงพฤษภาทมิฬ เดือนพฤษภาคม 2535 ที่ต้องเรียกว่าม็อบมือถือก็เพราะว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้ง

ม็อบดาวเทียม เกิดขึ้นในยุค2548-2553 เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองใช้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมในการติดต่อส่งข่าวสารในการปลุกระดมมวลชนให้เข้ามาร่วมชุมนุม ซึ่งเริ่มต้นมาจากม็อบใหญ่อย่าง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยใช้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ASTV ในการส่งสัญญาณออกอากาศ ต่อมาก็มีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาตื หรือนปช. คนเสื้อแดงก็ใช้สถานีโทรทัศน์ช่อง PTV ในการปลุกระดมมวลชนในการต่อต้านรัฐประหารและรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเช่นเดียวกัน

ม็อบเฟซบุ๊ค-โซเชียล เกิดขึ้นในปี 2556  เป็นกลุ่มประชาชนผู้ใช้สังคมออนไลน์ที่ไม่เห็นด้วยกับพรบ.นิรโทษกรรมแบบสุดซอย มีการล่ารายชื่อผ่านแคมเปญออนไลน์ การเปลี่ยนรูปประท้วงเชิงสัญลักษณ์ จนนำไปสู่การนัดกันออกมาชุมนุมบนท้องถนนในทุกตอนเที่ยงวันและหลังเลิกงาน

มือตบ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน ผลิตออกมาเพื่อสำหรับเด็กเล่น แต่เมื่อปี ค.ศ. 1963 สหรัฐอเมริกาได้นำมือตบนี้ไปใช้ในการเชียร์กีฬาแต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เมื่อถึงปี ค.ศ. 1984 สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 23 กองทัพนักกีฬาและกองเชียร์ของประเทศจีนได้ใช้เมื่อตบในการเชียร์ ทำให้คนอเมริกาเริ่มหันมาสนใจมือตบและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยเป็นที่นิยมใช้ในการเชียร์บาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ ในทวีปเอเชีย เริ่มใช้ในประเทศจีนในการเชียร์มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง สำหรับในประเทศไทย เริ่มเป็นที่นิยมเมื่อ อัญชะลี ไพรีรัก และกมลพร วรกุล นำมาใช้ขณะจัดรายการเล่าข่าว ออกอากาศทาง ASTV

ส่วนตีนตบ-หัวใจตบ มาจากการที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อล้อเลียนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยกล่าวว่าตีนตบนั้นเสมือนเป็นจุดยืน และได้มีการสร้างอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกับตีนตบขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งคือหัวใจตบ ประดิษฐ์ขึ้นโดยกลุ่มรักเชียงใหม่ 51

หน้ากากขาว หน้ากากกาย ฟอกส์ มาจากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง เพชฌฆาตหน้ากากพญายม (V for Vendetta) ในปี ค.ศ. 2006 ที่ตัวละครเอกสวมใส่หน้ากากใบนี้ และต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในท้องเรื่อง โดยการเคลื่อนไหวในลักษณะการลุกฮือของประชาชนที่ใช้สัญลักษณ์หน้ากากกาย ฟอกส์ นี้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ กรณี ออคคิวพายวอลสตรีต ในปี 2011 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในส่วนของการใช้สัญลักษณ์ประท้วง ในประเทศไทย หน้ากากใบนี้ปรากฏครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2012 ที่กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านนกรณีมหาวิทยาลัยนอกระบบ โดยมีรณรงค์ให้ผู้ที่เข้าร่วมด้วยเปลี่ยนรูปประวัติเป็นรูปสวมหน้ากากกาย ฟอกส์ เมื่อต้นปี 2013 มีการประท้วงที่ช่อง 3 ยุติออกอากาศละครโทรทัศน์เรื่อง เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ อย่างกะทันหันและเมื่อกลางปีเดียวกัน มีการเคลื่อนไหวทางเฟซบุกและเคลื่อนไหวบนท้องถนน อ้างว่าเพื่อต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และระบอบทักษิณ โดยมีการนัดหมายกันในจังหวัดต่างๆของประเทศไทยและในต่างประเทศ รวมถึงการนัดหมายในกรุงเทพมหานครในรูปแบบของแฟลชม็อบ ซึ่งเป็นการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้เวลาไม่ยืดเยื้อ
รองเท้ากีฬา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น